IB Diploma vs AP Programมีข้อแตกต่างกันอย่างไร

IB Diploma vs AP Programมีข้อแตกต่างกันอย่างไร

IB Diploma vs AP Programมีข้อแตกต่างกันอย่างไร

สวัสดีน้องๆ และผู้ปกครองทุกคน วันนี้ Up Grade Class มีข้อมูลดีๆ สำหรับคนที่ต้องการเรียนโรงเรียนหลักสูตรนานาชาติทั้งระบบ IB และ AP ว่าทั้ง 2 ระบบนั้น มีข้อแตกต่างกันอย่างไร และแต่ละหลักสูตรเหมาะกับตัวเองหรือไม่ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูรายละเอียดกันเลยค่ะ

หลักสูตร IB หรือ International Baccalaureate Programme

เป็นการนำหลักสูตร 3 ระดับ จัดทำโดย International Baccalaureate Organization (IBO) ที่มีการใช้แพร่หลายมากกว่า 156 ประเทศ ซึ่งจุดประสงค์ก็คือทำให้ระบบการศึกษาได้รับการยอมรับจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก เนื่องจากถ้ามีนักเรียนที่ต้องย้ายสถาบันไปอีกที่นึงของประเทศอื่นจะต้องมีหลักสูตรที่รองรับเด็กๆได้ดังนั้นหลักสูตรจึงมีเนื้อหาที่หลากหลายมากกว่าโรงเรียนทั่วไป

IB Programme แบ่งหลักสูตรออกเป็น 3 ระดับ

  • Primary Years Programme หรือPYP (3-12 ปี)
  • Middle Years Programme หรือ MYP (11-16 ปี)
  • Diploma Programme หรือ IBDP (16-19 ปี) จะเป็นหลักสูตรที่เป็นช่วงต่อมหาลัย ซึ่งนักเรียนจะค่อนข้างให้ความสนใจไปศึกษาต่อในต่างประเทศ จะมี 6 กลุ่มวิชาดังนี้ ภาษาและวรรณกรรม, ทักษะการใช้ภาษา, ปัจเจกและสังคม, วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, ศิลปะ

หลักสูตร IB นั้นจะมีเนื้อหาที่ค่อนข้างกว้างและลึกในเวลาเดียวกัน เนื่องจาก หลักสูตรนี้จะเน้นเรียนวิชาการ 5 วิชาหลัก และ 1 วิชาเลือก หากต้องการใช้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยนประเทศไทย จะต้องได้คะแนนรวมมากกว่า 24 คะแนน (จาก 45 คะแนนเต็ม) ทั้งนี้ การเลือกวิชาเรียน IB จะมีการแบ่งวิชาออกเป็น 6 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มวิชาจะมีรายวิชาย่อยอีกและแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ Higher Level และ Standard Level ในการได้รับ IB Diploma นักเรียนต้องผ่านเกณฑ์ดังนี้

  1. วิชา Higher Level 3-4 วิชา
  2. วิชา Standard Level 2-3 วิชา

โดยแต่ละวิชาจะมีคะแนน 1 -7 ดังนั้น จะคิดเป็น 42 คะแนนเต็มสำหรับวิชาการ (6 วิชา * 7 คะแนน)
ทั้งนี้ ในการได้รับวุฒิ IB Diploma ต้องผ่านอีก 3 หลักสูตรอีก 3 คะแนน ประกอบด้วย :

  • Theory of knowledge
  • Extended Essay
  • Creativity, Action and service

จะเห็นได้ว่า หลักสูตร IB Diploma นี้ ไม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อปูความรู้ทางด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว แต่ช่วยพัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ของนักเรียน รวมไปส่งเสริมการเรียนรู้และการทำกิจกรรมนอกห้องเรียนอีกด้วยค่ะ

ในประเทศไทยมีอยู่ 5 โรงเรียนที่ใช้ระบบIBทั้งสามระดับได้แก่ Concordian International School, KIS International School, NIST International School, Prem Tinsulanonda International School, UWC Thailand International School แต่มีโรงเรียนจำนวนไม่น้อยที่ใช้ระบบการศึกษาอื่นในช่วงประถม – มัธยมศึกษาตอนต้น จากนั้นเลือกเรียน IB Diploma ในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย โดยในกรุงเทพนั้น โรงเรียนที่สอน ระบบ IB Full ตั้งแต่ปฐมวัยถึงมัธยม มีเพียง NIST, KIS, Concordian เท่านั้น

หลักสูตร AP หรือ Advanced Placement Program 

เป็นโครงการเรียนล่วงหน้าที่เปิดโอกาสให้นักเรียนมัธยมปลายสามารถทำการทดสอบหรือทำความเตรียมพร้อมก่อนเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งในส่วนของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตรอเมริกันจะเน้นการเรียนรู้ตั้งแต่ช่วงประถมควบคู่กับกิจกรรม เพื่อให้เด็กรับรู้ความต้องการของตนเอง

AP มีข้อสอบให้เลือกมากกว่า 30 วิชา โดยจะแบ่งการประเมินผลการสอบออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 5 Extremely well qualified, 4 Well-qualified, 3 Qualified, 2 Possibly qualified, 1 No recommendation

 สำหรับโปรแกรม AP จะเป็นแค่หลักสูตรเสริมของระดับอุดมศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่ระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีเนื้อหาที่ค่อนข้างยากและลึก เนื่องจาก นักเรียนสามารถนำคะแนนเทียบโอนหน่วยกิตวิชาเรียนปี 1 เพื่อลดเวลาเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้น ข้อสอบ AP จึงมีเนื้อหาในการสอบจะค่อนข้างยากเลยทีเดียว
ในส่วนของการเลือกวิชาสอบ จะขึ้นอยู่กับ Requirement ของแต่ละคณะ เช่น คณะ BSAC (Bachelor of Science ของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์) ซึ่งต้องใช้ผลสอบ 3 ประเภท ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ความถนัดทาง วิทยาศาตร์ และสามารถใช้ผลการสอบของ AP Chemistry ได้โดยต้องมีคะแนน >= 3 (จาก 5 คะแนนเต็ม) ดังนั้น การศึกษาคณะที่เราอยากเรียนและการเตรียมความพร้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

จุดเด่นสำหรับการเรียนหลักสูตร AP

  • ไม่จำเป็นต้องเป็นเด็กที่เรียนในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนแบบ AP มาก่อนเท่านั้น แปลว่าน้องๆ สามารถหาหนังสือมาอ่านเองที่บ้านเพื่อเตรียมสอบได้เอง และ ผู้ที่สามารถสอบผ่านหลักสูตร AP และได้คะแนนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ก็จะได้รับการพิจารณาให้ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย
  • หลักสูตร AP เปรียบเสมือน “ทางลัด” ของนักเรียนมัธยมปลายที่จะต่อมหาวิทยาลัยนั่นเอง ยิ่งถ้าเราสอบผ่านได้หลายวิชาตามที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน น้องๆก็จะได้เก็บสะสมหน่วยกิตได้เร็วขึ้น โอกาสที่น้องๆจะเรียนจบเร็วกว่าเพื่อนก็มีมากขึ้นนั่นเอง

สรุปแล้วแต่ละหลักสูตรมีทั้งข้อดีและข้อแตกต่างกันอย่างพอสมควร การที่น้องๆหรือผู้ปกครองจะเลือกเรียนในหลักสูตรไหน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการเข้ามหาลัยของในแต่ละที่หรือแต่ละประเทศเป็นหลัก น้องๆสามารถพูดคุยกับพี่ๆ และคุณครูจาก Up Grade Class ในการเตรียมตัววางแผนก่อนสอบเข้าหรือถ้ามีข้อสงสัยก็สอบถามได้จากทางเพจ หรือจะเข้ามาที่สถาบันก็มีพี่ๆ ที่คอยให้คำแนะนำค่า