หลักสูตร Dual degree (ปริญญาคู่) คืออะไร?

หลักสูตร Dual degree (ปริญญาคู่) คืออะไร?

หลักสูตร Dual degree (ปริญญาคู่) คืออะไร?

สวัสดีค่ะน้องๆ ตอนนี้หลายคนขณะวางแผนเรียนต่อระดับอุดมศึกษาในต่างประเทศ เราเข้าใจดีว่าน้องต้องเผชิญกับทางเลือกมากมาย เรียนต่อประเทศไหนดี? เมืองไหนดี? มหาวิทยาลัยไหนดี? หลักสูตรอะไรดี? ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะการตัดสินใจครั้งนี้จะส่งผลอย่างมากต่ออนาคตทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของน้องๆ วันนี้ทาง Up Grade Class อยากจะแนะนำอีกหนึ่งทางเลือกให้น้องๆ ได้ลองทำความรู้จักและพิจารณาดูค่ะ

ปัจจุบันรูปแบบการศึกษาต่อต่างประเทศมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการอันหลากหลายของนักศึกษาทั่วโลก ตัวอย่างเช่นการเกิดขึ้นของ Branch campuses (มหาวิทยาลัยชั้นนำที่ไปตั้งสาขาเพิ่มในประเทศอื่น) และ Franchises (มหาวิทยาลัยหลักผู้เป็นเจ้าของหลักสูตรให้สิทธิบัตรกับมหาวิทยาลัยพันธมิตรในอีกประเทศเป็นผู้ดำเนินการสอนหลักสูตรนั้นๆ) ก็เป็นทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

ประเภทของหลักสูตรปริญญา 2 ประเทศ

หลายมหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนปริญญาใน 2 ประเทศ ซึ่งในประเทศไทยก็มีมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งที่เปิดสอนหลักสูตรลักษณะดังกล่าว เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ฯลฯ โดยเมื่อเรียนจบบัณฑิตจะได้รับทั้งวุฒิการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและมหาวิทยาลัยต่างประเทศ โดยหลักสูตรปริญญา 2 ประเทศมีรูปแบบและคำเรียกแตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

Dual หรือ Double degree ปริญญาควบ/ปริญญาคู่

รูปแบบการเรียนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนปริญญาสองสาขา โดยใช้เวลาเท่ากับหรือน้อยกว่าการแยกเรียนปริญญาสองใบแบบปกติทั่วไป ซึ่งบัณฑิตอาจได้รับปริญญาจากสถาบันเดียวกันหรือต่างสถาบันก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าหลักสูตรนั้นๆ ออกแบบมาให้นักศึกษาเรียนสองสาขาวิชาในมหาวิทยาเดียวกันแต่ต่างคณะ หรือมีการประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น หรือบางกรณีก็จะเป็นการเรียนปริญญาตรีควบปริญญาโท ปริญญาโทควบปริญญาเอก

ตัวอย่างหลักสูตร

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ University of Warwick ประเทศอังกฤษ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท โดยผู้เรียนจะได้รับวุฒิ Master of Engineering degree in Engineering Management จากจุฬาฯ และเลือกเรียน Master of Science degree จาก University of Warwick สาขาวิชาใดวิชาหนึ่งจากสามตัวเลือก ได้แก่  Engineering Business Management (EBM) หรือ Supply Chain and Logistics Management (SCLM) หรือ Service Management and Design (SMD)

Twinning programmes

บางครั้งเราจะเห็นคำว่า Twinning programmes ซึ่งความหมายจริงๆ แล้วก็เป็นหลักสูตรรูปแบบเดียวกับ Dual หรือ Double degree แต่ในบางกรณี Twinning จะถูกใช้เป็นกริยา เช่น ‘We are twinning with the University of Reading to offer this’ หมายถึง เรากำลังจับคู่กับ University of Reading เพื่อนำเสนอสิ่งนี้

หลักสูตร 2+2, 2+1, 1+2 คืออะไร?

ตัวเลขเหล่านี้ระบุถึงเงื่อนไขในการศึกษา สำหรับหลักสูตร Dual หรือ Twinning

  • หลักสูตร 2+2 นักศึกษาจะต้องเรียนในประเทศแรก 2 ปี ก่อนจะย้ายไปเรียนที่อีกประเทศ 2 ปี
  • หลักสูตร 2+1 นักศึกษาจะต้องเรียนในประเทศแรก 2 ปี และเรียนปีสุดท้ายในต่างประเทศ
  • หลักสูตร 1+2 นักศึกษาจะต้องเรียนในประเทศแรก 1 ปี และเรียนอีก 2 ปีในต่างประเทศ

ซึ่งโดยปกติแล้ว ประเทศแรกก็มักจะเป็นประเทศของมหาวิทยาลัยที่รับสมัคร เช่น ถ้าสมัครเรียนหลักสูตร Dual ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ นักศึกษาก็จะต้องเรียน 1 หรือ 2 ปีแรกที่ประเทศไทย จากนั้นจึงค่อยเดินทางไปเรียนที่อังกฤษในปีสุดท้าย

ปัจจุบันการศึกษามีทางเลือกที่ค่อนข้างหลากหลายซึ่งเอื้อต่อความต้องการที่เฉพาะของนักศึกษา โดยวันนี้เราจะมาจำแนกข้อดีของการเรียนปริญญาควบ หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ Dual หรือ Double degree ซึ่งเป็นการเรียนปริญญาสองสาขา และอาจได้รับปริญญาจากสถาบันเดียวกันหรือต่างสถาบัน โดยขึ้นอยู่กับการออกแบบของหลักสูตรนั้นๆ และต่อไปนี้คือข้อดีที่คุณจะได้รับจากการเรียนปริญญาควบ

1. เสริมสร้างโอกาสการจ้างงาน

การมีปริญญาควบอยู่ในมือเท่ากับเดินแซงหน้าคู่แข่งไปแล้วหนึ่งก้าว ซึ่งเป็นการสร้างความได้เปรียบในโลกของการสมัครงาน ช่วยเพิ่มมูลค่าของเรซูเม่ให้โดดเด่นเข้าตากรรมมาการมากยิ่งขึ้น การเรียนปริญญาแบบสองสาขาทำให้คุณได้พัฒนาความรู้แบบสหวิทยาการ และพัฒนาทักษะอื่นๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการทำงาน

2. สร้างเครือข่าย

การเรียนมหาวิทยาลัยสองแห่งในสองประเทศ จะช่วยยกระดับเครือข่ายบุคคลในชีวิตของคุณเป็นสองเท่า ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการหางานทำในตลาดแรงงาน

3. เสริมสร้างทักษะ Transferable Skills

แม้ว่าการเรียนปริญญาควบหมายถึงการทุ่มเทเวลา และต้องเพิ่มความสนใจให้มากขึ้นในวิชาที่เลือกเรียน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าภาระงานของคุณจะเพิ่มเป็นสองเท่าอย่างที่เข้าใจกันผิดๆ ตรงกันข้ามมันจะช่วยยกระดับความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว และรับมือกับปริมาณงานได้เป็นอย่างดี เช่น ในวันหนึ่งๆ คุณอาจได้ทำทั้งงานด้านการเงิน และต่อจากนั้นก็ไปเขียนพาฟลอฟ (Pavlov) ซึ่งทำให้คุณได้รู้เรียนวิธีการเปลี่ยนโหมดการทำงานเพื่อให้ทันกับภาระงานที่เข้ามา

4. แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น

การเรียนปริญญาควบนอกจากแสดงให้เห็นถึงความรู้แบบสหวิทยาการที่จะได้รับแล้ว ยังทำให้เห็นถึงความสามารถให้การปรับตัวและการดื่มด่ำกับวัฒนธรรมใหม่ๆ รวมถึงความสามารถในการปรับตัวให้เขากับรูปแบบการสอนของประเทศที่เลือกเรียน

5. เรียนรู้ภาษาใหม่

บางครั้งการเรียนปริญญาควบหมายถึง การเรียนในสองสถาบัน สองประเทศที่แตกต่าง ดังนั้นคุณอาจจะได้พัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศให้เก่งยิ่งขึ้น สามารถนำมาโชว์ในเรซูเม่ได้อย่างภาคภูมิใจ