เตรียมสอบ IGCSE ESL

เตรียมสอบ IGCSE ESL

เตรียมสอบ IGCSE ESL

IGCSE เป็นวุฒิการศึกษานานาชาติระดับมัธยมปลายที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก โดยมีวิชาให้เลือกเรียนหลากหลาย ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ หลักสูตรวิชา IGCSE English as a Second Language (ESL) ที่เหมาะสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก นักเรียนไทยก็ต้องสอบวิชานี้กันเพราะถูกกำหนดเป็นวิชาบังคับ ถ้านักเรียนจะสอบวิชา IGCSE ESL ควรจะต้องรู้อะไรบ้าง

IGCSE ESL (English as a second language)

ข้อสอบ IGCSE ESL มีอยู่ 2 รหัส ก็คือ 0510 และ 0511 ทั้งสองรหัสนี้แตกต่างกันอย่างไรและควรลงสอบชุดไหนดี?

ข้อสอบ IGCSE ESL มีรหัสชุดข้อสอบ คือ 0510 และ 0511 ซึ่งสิ่งที่แตกต่างกันก็คือ การเก็บคะแนนในส่วนของข้อสอบ Speaking นั่นเอง

IGCSE ESL 0510 (Speaking Endorsement) คือ การสอบ ESL ที่จะไม่นำคะแนนพาร์ท Speaking มารวมกับคะแนนทั้งหมดที่นักเรียนทำได้ในวิชานี้ ดังนั้นนักเรียนที่ลงสอบรหัส 0510 ควรจะมุ่งเน้นทำคะแนนไปที่ทักษะ Reading, Writing และ Listening

IGCSE ESL 0511 (Count-in Speaking) คือการสอบ ESL ที่จะนำคะแนนพาร์ท Speaking มารวมกับคะแนนทั้งหมดที่นักเรียนทำได้ ซึ่งหมายความว่านักเรียนที่ลงสอบรหัส 0511 ต้องมุ่งเน้นทำคะแนนทั้ง 4 ทักษะ คือ Reading, Writing, Listening และ Speaking

ผู้สอบจะเลือกสอบเพียงประเภทเดียว ความแตกต่างระหว่าง core กับ extended คือ เกรดที่ได้ โดยเกรดสูงสุดที่จะได้จากการสอบ core paper คือ C

แล้วน้องๆ จะทราบได้อย่างไรว่าควรลงสอบชุดไหนดี ทาง Up Grade Class ก็ขอแนะนำให้เลือกตามความถนัดของตัวเอง โดยเฉพาะในส่วนของพาร์ท Speaking เพราะข้อสอบทั้งสองรหัสนี้ มีแนวข้อสอบและระดับความยากที่เท่ากัน ต่างกันเพียงเรื่องการนับรวมคะแนนพาร์ท Speaking เท่านั้นค่ะ

ไม่ว่าจะสอบ core หรือ extended ก็ต้องทำข้อสอบอ่าน เขียน ฟัง และพูดเหมือนกัน การแบ่งสัดส่วนคะแนนก็เหมือนกัน คือ อ่านและเขียน คิดเป็น 70% ฟังอีก 30% ส่วนการพูด จะวัดคะแนนแยก รูปแบบของข้อสอบ Reading & Writing ก็เป็นรูปแบบเดียวกัน คือ

Exercise 1 และ Exercise 2 – Reading

ผู้สอบ IGCSE ESL จะต้องอ่านเรื่องที่ให้มาซึ่งยาวประมาณหนึ่งหน้ากระดาษ เรื่องที่ให้อ่านจะเป็นเรื่องทั่วๆไป ไม่ตายตัว อาจจะเป็นบทความทางประวัติศาสตร์ หรือข้อมูลท่องเที่ยวของเมืองใดเมืองหนึ่ง ไม่ว่าข้อสอบที่ได้อ่านจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม สิ่งที่ผู้สอบต้องฝึกคือการ skim, scan และการอ่านจับใจความสำคัญ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ผู้สอบจะต้องเขียนคำตอบเอง จะไม่มีตัวเลือกให้เลือก และบางคำถามอาจมีคำถามย่อยอยู่ด้วย ผู้สอบ IGCSE สามารถใช้คำๆเดียวกันกับเนื้อเรื่องมาตอบก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนคำ และไม่จำเป็นต้องเขียนยาวยืดเยื้อ นอกจากจะต้องเข้าใจเนื้อเรื่องแล้ว จะต้องเข้าใจโจทย์ด้วยว่าโจทย์อยากได้อะไร ประเด็นที่โจทย์ถามคืออะไร

Exercise 3 – Reading and writing combined

ผู้สอบ IGCSE ESL จะได้อ่านเนื้อเรื่องความยาวหนึ่งหน้ากระดาษ เรื่องที่ให้อ่านในส่วนนี้จะเป็นเรื่องของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยผู้สอบจะต้องอ่านให้เข้าใจ และจินตนาการว่าตัวเองคือคนคนนั้น แล้วตอบคำถาม คำถามจะมาในลักษณะของแบบฟอร์มให้เรากรอก

**สิ่งที่ต้องรู้ก่อนทำข้อสอบ IGCSE ESL ส่วนนี้คือ ข้อสอบไม่ได้แค่วัดทักษะการอ่านแต่จะวัดความสามารถด้านการเขียนของเราด้วย เพราะฉะนั้นจะต้องระวังเรื่องการสะกดคำ ตัวอักษรเล็ก/ใหญ่ ลายมือ คำไหนใช้ขึ้นต้นประโยคได้ คำไหนใช้ไม่ได้ เป็นต้น

Exercise 4 – Making notes

ใช้ทักษะเดียวกันกับข้อสอบส่วนอื่นๆ ก่อนหน้านี้ หลังจากอ่านบทความที่ให้มาแล้ว ผู้สอบ IGCSE จะต้องจดโน้ตลงไปตามที่โจทย์ถาม อ่านโจทย์ให้ดีว่าเค้าถามอะไร คำตอบของข้อสอบส่วนนี้จะสั้น เพราะเป็นการจดโน้ต แต่ในคำตอบสั้นๆนั้นจะต้องมีข้อมูลที่สำคัญครบถ้วน

Exercise 5 – Summarising

เป็นข้อสอบ IGCSE ESL ที่ต่อเนื่องมาจาก Exercise 4 ผู้สอบจะต้องสรุปเนื้อหาที่ได้อ่าน โดยอาศัยคำตอบใน Exercise 4 เป็นตัวช่วย และต้องใส่ข้อมูลสำคัญต่างๆ ของเรื่องที่อ่านให้ครบถ้วน โดยจะต้องใช้จำนวนคำตามที่โจทย์กำหนดเท่านั้น ผู้เขียนควรหลีกเลี่ยงการลอกคำศัพท์จากบทความที่อ่าน ควรพยายามเขียนให้เป็นภาษาของตัวเอง

Exercise 6 & 7 – Writing

ข้อสอบเขียนมีสองข้อ คือ งานเขียนแบบไม่เป็นทางการ เช่น เขียนจดหมายหาเพื่อน และ งานเขียนแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นทางการ ข้อสอบ IGCSE ส่วนนี้วัดความสามารถทางการเขียนอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นก่อนสอบ ผู้สอบจะต้องฝึกเขียนให้มาก ความยาวของงานเขียนจะถูกกำหนดอยู่ที่ 100 -150 คำ และ 150 – 200 คำ แล้วแต่ชนิดข้อสอบที่เลือกสอบ(core/extended)

สอบ IGCSE ESL ได้เมื่อไหร่ มีสอบรอบไหนบ้าง?

การสอบวิชา ESL จะจัดสอบในรอบเดือน May/ June และ October/ November ของทุกปี เนื่องจาก ESL เป็นหนึ่งในรายวิชาหลักของ IGCSE และเป็นวิชาที่นักเรียนส่วนมากจะเลือกเป็น 1 ใน 5 วิชาที่สอบ

ข้อสอบ IGCSE ESL มีกี่ Paper ใช้เวลาสอบนานเท่าไหร่?

ข้อสอบ IGCSE ESL นั้น จะแบ่งระดับความยากง่ายให้นักเรียนเลือกสอบ 2 ระดับ ได้แก่ Core และ Extended

ถ้านักเรียนเลือกสอบแบบ Core ข้อสอบจะมีจำนวนคำถามและความซับซ้อนที่น้อยกว่า โดยจะเน้นไปที่พื้นฐานทั้ง 3 ทักษะ ได้แก่ Reading, Writing และ Listening

สำหรับผลสอบนั้น นักเรียนจะได้รับเกรดตั้งแต่ C-E โดยเกรดที่สามารถทำได้สูงสุด คือ  C เท่านั้น ซึ่งนับเป็นเกรดที่ถือว่าผ่านเกณฑ์

ถ้านักเรียนเลือกสอบแบบ Extended ข้อสอบจะมีจำนวนคำถามมากกว่าและเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้นทั้ง 3 ทักษะ

สำหรับผลสอบนั้น นักเรียนจะได้รับเกรดตั้งแต่ A-C โดยเกรดที่สามารถทำได้สูงสุด คือ A ซึ่งเกณฑ์คะแนนสอบผ่านเริ่มนับตั้งแต่ C ขึ้นไป

ชุดข้อสอบของแต่ละระดับจะแบ่งออกได้ดังนี้

ไม่ว่านักเรียนจะเลือกสอบแบบ Core หรือ Extended หรือจะสอบรหัส 0510 หรือ 0511 ก็ต้องสอบ Component 5 พาร์ท Speaking ทุกคน แต่นักเรียนที่สอบรหัส 0510 เท่านั้น ที่คะแนนในส่วน Speaking จะไม่นับรวมกับคะแนนทั้งหมดที่ทำได้ในวิชานี้

ระดับความยากของการสอบ Component 5 จะมีความยากเท่ากัน ไม่ว่าจะสอบแบบ Core หรือ Extended หรือสอบรหัส 0510 หรือ 0511 ก็ตาม

ในการสอบ IGCSE คะแนนสูงสุด คือ A Star (A*) ถ้าสอบวิชา ESL จะสามารถทำคะแนนได้ถึง A* หรือไม่?

ข้อสอบ Core (Paper 1 และ 3) สามารถทำคะแนนได้สูงสุดที่ C เท่านั้น และเมื่อนำคะแนนทุก Part มารวมกันก็จะได้เพียงแค่ C

ข้อสอบ Extended (Paper 2 และ 4) สามารถทำคะแนนได้สูงสุดที่ A แต่ในหนึ่งข้อสอบ จะไม่สามารถทำ A* ได้ เช่น แม้ว่าจะทำคะแนนได้ถูกทุกข้อใน Listening แต่นักเรียนจะไม่ได้ A* พาร์ท Listening

นักเรียนสามารถทำคะแนน A* ได้ เมื่อลงสอบระดับ Extended และทำคะแนนได้เต็มหรือเกือบเต็ม ใน Paper 2 และ Paper 4 (และ Component 5 ได้คะแนนเกณฑ์สูงสุดใน Count-in Speaking) หรือก็คือ จะได้ A* ต่อเมื่อนำคะแนน Paper ทั้ง 3 ชุดมารวมกัน และมีคะแนนรวมที่ถึงเกณฑ์ A* นั่นเอง

พาร์ท Reading and Writing มีเนื้อหาอะไรบ้าง?

ข้อสอบพาร์ท Reading แบ่งหัวข้อได้ดังนี้

Exercise 1 – Reading จะเน้นอ่าน Articles หรือ Excerpts และจับใจความ โดยรูปแบบของคำถามจะเป็น Short Answers

Exercise 2 – Multiple Matching จะเป็นแนวคำถามแบ่งแยกระหว่างข้อมูลและผู้ให้ข้อมูล ซึ่งนักเรียนจะต้องอ่านข้อมูลและจับคู่ข้อมูลนี้ให้ตรงกับผู้ให้ข้อมูลนั่นเอง

Exercise 3 – Note-Making แนวคำถามนี้จะมีบทความให้นักเรียนอ่าน จากนั้นนักเรียนจะต้องจับประเด็นตามที่คำถามต้องการ และเขียนลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

Exercise 4 – Summary ในส่วนนี้ นักเรียนจะต้องอ่านบทความ และเขียนสรุปออกมาเป็นจำนวน 100 คำ

ข้อสอบพาร์ท Writing แบ่งหัวข้อได้ดังนี้

Exercise 5 – Writing 1 สำหรับพาร์ทนี้ ผู้สอบจะต้องเขียนตอบโจทย์ที่ได้รับ ประมาณ 150-200 คำ ซึ่งอาจจะมาในรูปแบบของ Letter (จดหมาย) หรือ หัวข้อสั้นๆ

Exercise 6 – Writing 2 สำหรับพาร์ทสุดท้าย ผู้สอบจะต้องเขียน Report (รายงาน) Article (บทความ) หรือ  Review (งานรีวิว) เกี่ยวกับหัวข้อบางอย่างในจำนวน 150-200 คำ

พาร์ท Listening มีเนื้อหาอะไรบ้าง?

ข้อสอบพาร์ท Listening มีหัวข้อ ดังนี้

Exercise 1 – Short Extracts and Answers ในส่วนนี้ผู้สอบจะได้ฟังข้อความเสียงสั้นๆ และตอบคำถามให้ถูกต้อง

Exercise 2 – Listening to a Formal Talk and Fill in the Gaps ในส่วนนี้ผู้สอบจะได้ฟังบทสนทนา หรือ บทสัมภาษณ์ เกี่ยวกับหัวข้อบางอย่าง และเขียนคำตอบลงในช่องว่าง

Exercise 3 – Matching ผู้เรียนจะได้ฟัง Extracts สั้น ประมาณ 6 ชิ้น แล้วต้องจับคู่ Extract ดังกล่าวเข้ากับผู้พูดให้ถูกต้อง

Exercise 4 – Multiple Choices ผู้เรียนจะได้ฟังบทสนทนาและตอบคำถาม Multiple Choice (A, B, หรือ C) ให้ถูกต้อง

Exercise 5 (Extended only) – Discussion and Fill in the gaps สำหรับส่วนสุดท้ายนี้ผู้เรียนจะได้ฟังบทสนทนา และต้องใส่คำตอบลงในช่องว่างให้ถูกต้อง จากนั้นจะมีพาร์ท 2 ซึ่งผู้เรียนจะต้องฟังบทสนทนาที่ต่อยอดจากครั้งก่อน และเขียนคำตอบลงในช่องว่างให้ถูกต้อง โดยใช้คำไม่เกิน 3 คำ

ข้อสอบ Listening ทุกข้อและทุกระดับ จะมีการ Replay ซ้ำ 1 ครั้งเท่านั้น (ฟังรอบแรก แล้วข้อสอบจะ Replay ให้อีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งสุดท้าย)

พาร์ท Speaking สอบอะไรบ้าง?

ไม่ว่านักเรียนจะเลือกสอบแบบ Core หรือ Extended หรือจะสอบรหัส 0510 หรือ 0511 ก็ต้องสอบ Component 5 พาร์ท Speaking ทุกคน แต่นักเรียนที่สอบรหัส 0510 เท่านั้น ที่คะแนนในส่วน Speaking จะไม่นับรวมกับคะแนนทั้งหมดที่ทำได้ในวิชานี้

การสอบ Speaking จะสอบดังนี้

Warm-Up Conversation จะเป็นช่วงวอร์มอัพก่อนเข้าสู่เนื้อหาหลัก โดยนักเรียนและผู้คุมสอบจะสนทนาเรื่องทั่วไป เช่น เรื่องครอบครัว สิ่งที่ชอบทำ หรือ อยากเรียนต่อที่ไหน เป็นต้น  ในส่วนนี้จะไม่มีการนับคะแนนแต่อย่างใด

Preparation นักเรียนจะได้ Speaking Card หรือ Topic ที่จะพูด และมีเวลาให้เตรียมตัวเพียง 2-3 นาทีเท่านั้น ในส่วนนี้นักเรียนจะไม่ได้รับอนุญาตให้จดโน้ตแต่อย่างใด

Assessed Conversation คือส่วนที่นักเรียนจะเริ่มพูด และผู้คุมสอบจะให้คะแนน

*ในการสอบ Speaking นักเรียนไม่สามารถขอเปลี่ยนเนื้อหา Speaking Card ได้

พาร์ท Speaking มีวิธีประเมินและให้คะแนนอย่างไร?

คะแนนของพาร์ท Speaking จะนับเป็น Band Score แทน โดยมีคะแนนสูงสุดที่ 10 และต่ำสุดคือ 0 คะแนน ในการสอบ Speaking จะประเมินจาก 3 ปัจจัย คือ

Structure – การเรียบเรียงประโยคพูด

Vocabulary – คลังศัพท์ (ยิ่งมีคำศัพท์เยอะยิ่งดี และสามารถใช้ได้ถูกบริบท)

Development & Fluency – การรักษาความต่อเนื่องของบทสนทนา และความคล่องในการใช้ภาษาอังกฤษ (การพูดต่อเนื่อง การใช้น้ำเสียง และสำเนียง เป็นต้น)

การสอบ IGCSE ESL ของบอร์ด CIE และ EDEXCEL แตกต่างกันอย่างไร

IGCSE จัดสอบโดย 2 หน่วยงาน หรือเรียกว่า บอร์ด (Board) คือ บอร์ด CIE โดย Cambridge International Examination และบอร์ด EDEXCEL ของบริษัทในเครือของสำนักพิมพ์ Pearson การสอบทั้งสองบอร์ดมีระดับความยากใกล้เคียงกัน แต่นักเรียนบางคนคิดว่า วิชาบางวิชาของบอร์ดหนึ่งยากกว่าอีกบอร์ดหนึ่ง ในส่วนของข้อสอบ IGCSE ESL นั้น ทั้ง 2 บอร์ด มีความแตกต่างกันดังนี้

วิชา ESL ของ CIE จะมีการแบ่งระดับ tier เป็น Core กับ Extended ในขณะที่ ESL ของ EDEXCEL จะไม่มีการแบ่งแยกระดับ

เนื้อหาของทั้ง 2 บอร์ดจะคล้ายคลึงกัน แต่ CIE จะบังคับให้ผู้สอบทุกคนสอบ Component 5 (Speaking) ในขณะที่ EDEXCEL จะให้ข้อสอบ Speaking เป็นตัวเลือกว่าผู้สอบจะลงสอบหรือไม่

อย่างไรก็ตาม นักเรียนบางคนอาจจะชอบแนวคำถามของ CIE เพราะชัดเจนกว่าของ EDEXCEL หรือ บางคนอาจจะรู้สึกว่าการหาคำตอบของสำนัก EDEXCEL จะไม่ซับซ้อนเท่า CIE

ในการสอบ IGCSE ESL นักเรียนควรพิจารณาให้รอบคอบตามความถนัดของตนเอง ทั้งบอร์ดที่จัดสอบ ระดับความยาก Core หรือ Extended ซึ่งมีผลต่อเกรดที่จะได้รับ รวมทั้งในส่วนของคะแนนการสอบ Speaking ว่าต้องการให้รวมนับคะแนนด้วยหรือไม่ แต่ไม่ว่านักเรียนจะลงสอบของบอร์ดใดหรือระดับก็ตาม นักเรียนควรวางแผนและเตรียมตัวสำหรับการสอบ ESL ให้พร้อมมากที่สุด เพราะค่าใช้จ่ายในการสอบค่อนข้างสูง และในแต่ละปี มีการจัดสอบเพียง 1-2 ครั้ง เท่านั้นค่ะ